กรณีศึกษาที่ 20
เริ่มต้นจากศูนย์บุกเบิกตลาดใหม่
กรณีศึกษาที่ 20
เริ่มต้นจากศูนย์บุกเบิกตลาดใหม่
[#1]
ในปี 1945 นักธุรกิจชาวอเมริกันชื่อเรย์โนลด์ (Reynold) เห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ชนิดหนึ่งที่ประเทศอาร์เจนตินาคือปากกาลูกลื่น และเขาเชื่อมั่นว่าในสหรัฐฯ ยังไม่มีใครรู้จักของแบบนี้
[#2]
เขารู้ว่าบริษัท Eversharp ผู้ผลิตดินสอกดร่วมทีมกับบริษัท Eberhard-Faber ได้จดลิขสิทธิ์การออกแบบปากกาลูกลื่นเพื่อผลิตขายในสหรัฐฯ ไว้แล้ว
เรย์โนลด์ จึงซื้อปากกาลูกลื่นที่อาร์เจนตินาไป 2-3 ด้ามเพื่อไปทดลองทำวิจัย
[#3]
เรย์โนลด์เดินทางกลับชิคาโกและยุ่งอยู่กับการออกแบบปากกาลูกลื่นแบบใหม่
นักวิจัย : ปากกาชนิดนี้ใช้หลักการแรงโน้มถ่วง ทำให้น้ำหมึกไหลได้
เรย์โนลด์ : ผมได้ลิขสิทธิ์มาแล้ว
[#4]
ก่อนที่ Eversharp จะเปิดตลาดปากกาลูกลื่น เรย์โนลด์ก็ชิงทำตลาดก่อนกับห้างสรรพสินค้า Gimbels ที่นิวยอร์ก และสร้างยอดขายได้ดี
ห้างสรรพสินค้า Macy's เป็นแห่งที่สองที่สั่งซื้อ Order ใหญ่ ทำให้ปากกาลูกลื่นของเรย์โนลด์ขายดีอย่างมาก เนื่องจากต้นทุนผลิตปากกาลูกลื่นเพียงด้ามละ 80 เซ็นต์ จึงได้กำไรงามมาก
[#5]
ต่อมาเรย์โนลด์คิดว่า ผู้คนควรได้รู้จักปากกาของเรามากกว่านี้ แต่เรายังขาดแคลนคนและขาดเงินทำโฆษณา ดังนั้น เรย์โนลด์จึงหาทางออกด้วยวิธีนี้
เรย์โนลด์ (ฝ่ายโจทย์) ออกข่าวว่า : บริษัท Eversharp และ Eberhard-Fiber ละเมิดกฎหมายป้องกันการผูกขาดด้วยการขัดขวางการผลิตและการขายปากกาที่บริษัทเราคิดค้นขึ้น ผมร้องขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นมูลค่า 1 ล้านดอลล่าห์
2 บริษัท (ฝ่ายจำเลย) : ยื่นเรื่องต่อศาลขอคัดค้านข้อกล่าวหาดังกล่าวว่าไม่มีมูล
[#6]
หนังสือพิมพ์ต่างแย่งกันทำข่าวคดีนี้
แม้ในที่สุดแล้ว ศาลจะยกฟ้อง แต่บริษัท Reynolds Company เป็นที่รู้จักมากขึ้นและส่วนแบ่งตลาดก็ขยายเพิ่มขึ้นด้วย
[#7]
* กลยุทธ์ "ในไม่มี ทำให้มี" ใช้ได้กับงานสร้างสรรค์และการโฆษณาผลิตภัณฑ์นี้อย่างสำเร็จสมประสงค์
< ย้อนกลับ หน้าหลัก