กรณีศึกษาที่ 17
ยึดมั่นการตลาดที่ยอกย้อน ท้ายที่สุดประสบผลสำเร็จ
กรณีศึกษาที่ 17
ยึดมั่นการตลาดที่ยอกย้อน ท้ายที่สุดประสบผลสำเร็จ
[#1]
ในปี 1959 ชายชาวญี่ปุ่น ชื่ออินาโมริ และเพื่อนคนหนึ่ง ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Kyocera Corporation
ทั้งคู่พยายามหนักหนาที่จะขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทให้ได้
[#2]
ในเวลานั้น ชาวญี่ปุ่นจะไม่ใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศของตนเอง แต่จะนิยมใช้ผลิตภัณฑ์จากอเมริกาที่ครองตลาดในญี่ปุ่นมากกว่าครึ่งหนึ่ง
อินาโมริ : การบุกตลาดอเมริกาเหมือนการเจาะกำแพงเหล็ก แต่เราน่าจะทำเรื่องแปลกบ้างนะ ลองชักชวนให้โรงงานผลิตเครื่องจักรและเครื่องใช้ไฟฟ้าของอเมริกามาใช้สินค้าของเรา แล้วส่งกลับมาขายที่ญี่ปุ่น วิธีนี้เราจะเข้าตลาดญี่ปุ่นได้ง่ายขึ้น
[#3]
ผู้ประกอบการของอเมริกาต่างจากคนญี่ปุ่น ตรงที่พวกเขาไม่สนใจว่าผู้ขายเป็นใคร ขอให้สินค้าดีผ่านการทดสอบก็ใช้ได้แล้ว
อินาโมริจึงเดินทางไปสหรัฐอเมริกาทันที
[#4]
หนึ่งเดือนในการทำตลาดที่อเมริกาไม่ส่งผลอันใดเลย แต่เขายังยืนหยัดไปหาผู้ประกอบการแต่ละรายจากฝั่งตะวันออกไปจนฝั่งตะวันตก
ในที่สุด เขามาพบผู้ประกอบการรายหนึ่งในรัฐเท็กซัสที่ยอมทดลองใช้สินค้าของเขา
นักธุรกิจเท็กซัส: เราต้องการสินค้าที่ทนทานต่อความร้อนได้ดีมาก ถ้าสินค้าของคุณได้มาตรฐาน เราจะซื้อสินค้าของคุณ
[#5]
ผู้ประกอบการในเท็กซัสรายนี้ผลิตเครื่องต้านทานกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้กับจรวดของยานอวกาศอะพอลโล จึงต้องการวัสดุที่ทนทานต่อความร้อนสูง พวกเขาจึงทำการทดสอบอย่างเข้มงวด
เมื่อสินค้าผ่านการทดสอบ ผู้ประกอบการชาวอเมริกาจึงสั่งสินค้าจำนวนมากจากบริษัท Kyocera แล้วคนญี่ปุ่นก็เริ่มค่อย ๆ เชื่อใจในผลิตภัณฑ์ของ Kyocera มากขึ้นด้วย
[#6]
* หากจู่โจมทางตรงแล้วไม่ได้ผล ลองบุกเข้าพื้นที่อื่น แล้วค่อยตีอ้อมกลับมาก็ยังไม่สาย !
< ย้อนกลับ หน้าหลัก